ทิศทางของรายการแข่งขันร้องเพลงแบบเรียลลิตี้

Written by . Posted in เรื่องบันเทิง

Tagged: , ,

เรียลลิตี้-เทรนด์-2

Published on with No Comments

ทิศทางของรายการแข่งขันร้องเพลงแบบเรียลลิตี้

นับว่าเป็นระยะเวลาที่ผ่านมาได้นานพอสมควรแล้ว กับกระแสของรายการแข่งขันร้องเพลงแบบเรียลลิตี้ ที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วม ส่งคะแนนโหวตมาในเวลาแข่งขันจริง นับตั้งแต่ยุคของ เดอะสตาร์ และทรู อะคาเดมีแฟนเทเซีย ไล่มาจนถึงบิ๊ก บราเธอร์,  เอ็มไทยแลนด์, ซีซ่า ทางสายฝันสู่ดวงดาว, ล้านฝันสนั่นโลก ,kpn awardและไทยแลนด์ ก๊อตทาเลนท์ จนถึงเดอะว๊อยส์ ซึ่ง สิ่งสำคัญมากที่สุดที่มักทำให้รูปแบบรายการ ต่างๆในอดีตต้องปิดตัวลง ไม่ว่าจะเป็นรายการ กำจัดจุดอ่อนหรือรายการเกมเศรษฐี  สิ่งที่จะมาทำให้รายการเหล่านี้ยุติลงได้ นั่นก็คือ คำว่า  ความอิ่มตัว ซึ่งเป็นธรรมดาของผู้ชมที่มักต้องการที่จะสัมผัสสิ่งใหม่ๆและไม่ชอบที่จะ อยู่กับสิ่งใดซ้ำๆนานๆ

 

เรียลลิตี้-เทรนด์

ในนาทีนี้หากจะถามว่ารายการประกวดร้องเพลง เรียลลิตี้โชว์ถึงจุดอิ่มตัวหรือยัง และหากจะกล่าวถึงโอกาสที่จะปลุก กระแส ของรายการเรียลลิตี้ในยุคนี้ให้แรงต่อไปได้

ช่องทางที่เหลืออยู่นั้น เห็นจะเป็นช่องทางในการอุดช่องโหว่แก้ไขรูปแบบใดๆก็ตามที่รายการก่อนหน้า  ได้มีจุดอ่อนข้อเสียเอาไว้ เป็นที่ครหา นั้น นำมาปรับแก้ไขแล้วสร้างรายการใหม่ที่ดียิ่งกว่า

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นวิวัฒนาการที่ไล่ลำดับมา จากที่รายการ ทรู อะคาเดมีแฟนเทเซีย ได้มุ่งเน้นให้แฟนๆได้ติดตามชีวิตของผู้แข่งขันแบบเกือบตลอดเวลา และตามหลักจิตวิทยาย่อมสร้างความผูกพัณธ์ แต่ทว่ารายการเดอะสตาร์ ได้เสริมในเรื่องของความเขี้ยวของกรรมการ ที่มุ่งเน้นใช้คำพูดวาจาที่ค่อนข้างแรง สร้างบรรยากาศที่จริงจังและตึงเครียดได้ในหลายสถานการณ์ เพื่อเสริมความตื่นเต้น แต่รายการต่างๆก็มีจุดอ่อนไม่ด้านใดด้านหนึ่ง อย่างเช่นกรรมการของเดอะสตาร์นั้น จะมีรสนิยมส่วนตัว ซึ่งผู้เข้าแข่งขันค่อนข้างต้องเป็นรสนิยมของกรรมการ ในขั้นคัดเลือก รวมถึงทิศทางในการผลักดันตัวผู้แข่งขันมักจะมุ่งเน้นให้  มีความเป็นซุปเปอร์สตาร์แต่ทว่า นั่นเป็นแบบแผนของซุปเปอร์สตาร์ ในยุคหนึ่ง ในยุครุ่งโรจน์ของแกรมมี่ ซึ่งอาจไม่ทันสมัยอีกต่อไปแล้ว กับในยุคที่ค่ายเพลงหลากหลายและศิลปินแหวกแนวหลายหลาก  ซึ่งแนวทางของเดอะสตาร์ มักจะเน้นหลักการตลาด สากลที่ค่อนข้างคร่ำครึ และในท้ายที่สุดรายการถูกครหาจากหลายฝ่ายว่าเป็นรายการที่ เน้นหน้าตา ซึ่งผู้เข้าแข่งขันบางรายมักลอยลำมาในลักษณะที่เรียกได้ว่า หล่อได้เปรียบ แม้เสียงจะไม่เท่าไหร่ก็ตาม

เรียลลิตี้-เทรนด์-2

และแล้วก็เข้าสู่ยุคของไทยแลนด์ ก๊อตทาเลนท์ ที่เรียกได้ว่าอิงกระแสความดังจากรายการในต่างประเทศ เน้นสร้างบรรยากาศที่ยิ่งใหญ่และสร้างฟิลดราม่า หรือสร้างฟิลที่น่าทึ่ง แต่ทว่าในท้ายที่สุดทำไปทำมา รายการก็ถูกข้อครหา ทางความรุ้สึกของประชาชนมากมายที่รู้สึกว่า รายการนี้มีรูปแบบที่เฟค ผิดธรรมชาติมากเกินไป

และรายการเด่นๆล่าสุดที่เกิดขึ้น ที่ใช้ยุทธศาสตร์ในการปรับแก้บทเรียนของรายการอื่นนั่นก็คือรายการเดอะว๊อยส์ และสิ่ง ที่รายการเดอะวอยส์ได้พยายามที่จะทำลงไป  ด้วยการชู แนวทางใหม่ ด้วยสโลแกนว่า หน้าไม่ต้องเน้นเสียงร้องอย่างเดียว  อีกทั้งยังเน้นใช้กรรมการที่ ได้รับความนิยมได้รับการยอมรับจากวงสังคมของวงการเพลง และสร้างบรรยากาศชิวๆกันเองดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งก็ได้ผลตอบรับมาดีมากด้วย

เพราะผู้เข้าแข่งขันหลายคน ค่อนข้างมีคุณภาพ ในการร้องเพลงอย่างเชี่ยวชาญ เปิดมิติใหม่ให้ผู้ชมได้ฟังเสียงร้องระดับคุณภาพมากขึ้นกว่ารายการใดๆ ที่ผ่านมา ผู้เข้าแข่งขันหลายคนที่โชกโชนประสบการณ์มาเป็นอย่างดี มีดีกรีมากมายได้พากันเข้ามาแข่งขันรายการนี้ ซึ่งส่งผลประโยชนืให้เรทติ้งของรายการเต็มๆ

แต่แล้วสุดท้ายไม่วายที่รายการนี้จะถูกข้อครหาเช่นกัน เมื่ออำนาจเงินทำให้สโลแกนของรายการผิดเพี้ยนไปในภายหลัง เพราะรายการมุ่งเน้นเปิดให้ผู้ชมทางบ้านโหวตเข้าไปมากๆ และเน้นให้คะแนนส่วนหลักๆไปอยู่ที่การให้คะแนนจากผู้ชม ซึ่งนั่นส่งผลให้ บทสรุปสุดท้ายของ รายการเดอะว๊อยส์ไม่ต่างจากรายการอื่น

ซึ่งจากทีแรกที่ตั้งเป้าไว้ว่ารายการนี้จะหานักร้องคุณภาพตัวจริงหน้าตาท่าทางลีลาไม่เกี่ยว แต่สุดท้ายเมื่อคะแนนเสียงมาจากประชาชน นั่นย่อมหมายความว่า ทุกองค์ประกอบย่อมเกี่ยวข้องได้ทันที ใครที่มีความครองใจมหาชนได้มากที่สุด มีบุคลิคถูกใจ นั่นก็จะคว้าชัยได้โดยง่าย นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆมาเกี่ยวข้องหลายหลากอย่างที่เป็นองค์ประกอบแวดล้อมอื่นๆรวมทั้ง ความนิยมในตัวกรรมการอีกด้วย

อีกปัญหาหนึ่งของรายการเดอะวอยส์ที่ต่างคอนเซ็ปไปจากรายการต่างประเทศนั่นก็คือ ความเกรงอกเกรงใจของกรรมการ หรือการใช้หลัก เสียสละบ้าง ให้โอกาสบ้าง ขอโอกาสให้คนนี้บ้างตัดคนนั้น บ้าง และบางทีมีความรักความชอบปักใจ อีกด้วย รวมถึงผู้เข้าแข่งขันในรายที่มีความเป็นมืออาชีพมากๆหรือเป็นศิลปินอยู่แล้ว ก็มักจะถูกกรรมการ ตัดออกไปด้วยเหตุผลในเชิงขอโอกาส ขอความเสียสละให้คนรุ่นใหม่ ซึ่งในกรณีนี้ต่างกับในต่างประเทศที่ไม่สนใจอันใดทั้งนั้นนอกจากเสียงและฝีมือ  และสิ่งสำคัญที่สุดนั่นก็คือรายการเดอะวอยส์ได้อ้างหลักการเช่นนี้ในทีแรก แต่มาเปลี่ยนรูปแบบรายการในตอนหลัง

ดังนั้นในยุคนี้จึงต้องตามติดกันต่อว่า จะมีรายการใดเป็นเรียลลิตี้ประกวดร้องเพลงที่มีคุณภาพ อย่างแท้จริง เพราะเชื่อแน่ว่ามีหลายรายการที่มองเห็นจุดเสียของรายการอื่นและ มองเห็นจุดดีของรายการอื่น นั้นย่อมนำมาปรับแก้ในรายการของตนอย่างแน่นอน

ท่ามกลางยุคที่กระแสของการดูคลิปยูทูปกำลังฮิตจนกลายเป็นเรื่อง ที่ทำกันโดยทั่วไปเช่นนี้ นั้นย่อมส่งผลให้บรรดาผู้ชมได้เห็นของมีคุณภาพจากต่างประเทศ และจับไต๋หรือจับความด้อยของรายการในไทยได้ง่ายขึ้น และกลายเป็นสิ่งที่รายการในไทย อาจจะเล่นง่ายกับผู้ชมที่มีความเขี้ยวมากขึ้นไม่ได้ง่ายๆอีกต่อไป

 

บทความ สงวนลิขสิทธิ์โดย loginlike.com

 

About

Browse Archived Articles by

No Comments

There are currently no comments on ทิศทางของรายการแข่งขันร้องเพลงแบบเรียลลิตี้. Perhaps you would like to add one of your own?

Leave a Comment